ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร

1. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติก่อนหรือไม่ 
ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องเป็นกรณีของการประกิจกิจกาขายปลีก ถ้าเป็นบริการต้องเป็นการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะดังนี้
1.1 เป็นการขายสิ้นค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำไปใช้โดยไม่ได้นำไปขายต่อ
1.2การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร
1.3 ผู้ประกอบการตาม 1.1 และ 1.2 ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับที่มีรายการครบถ้วน กรณีที่ผู้ซื้อร้องขอ
บางครั้ง กิจการที่ทำไม่ตรงกับตัวอย่างที่สรรพากรให้ไว้ ก็ให้พิจารณาได้เลยว่า ถ้าขายให้ผู้บริโภค และผู้บริโภคเป็นคนใช้ ไม่ได้ไปขายต่อ ก็สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลย โดยไม่ต้องขออนุมัติ
2. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้วลงรายการในรายงานภาษีขายอย่างไร
กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 ให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับ และให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการ โดยให้เป็นไปตามหลักการนี้
2.1 ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้า และรายการสินค้าต้องแยกจำนวนภาษีมูลเพิ่ม
2.2 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ของใบกำกับภาษีว่า “เล่มที่…เลขที่…ถึงเลขที่…”
2.3 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ของใบกำกับภาษีว่า “เลขที่…ถึงเลขที่…”
มีผู้ประกอบการจำนวนมาก ทำผิด โดยสิ้นวัน ได้ไปจัดทำใบกำกับภาษีเต็มรูปอีกฉบับ เพื่อสรุปยอดขายตามใบกำกับอย่างย่อในวันนั้น แล้วเอาไปลงรายงานภาษีขาย ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้องและอาจโดนปรับ
มีข้อสังเกตว่าใน กม.ภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีผู้ประกอบการอีกกลุ่มที่เรียกว่า ผู้ประกอบการรายย่อยตามมาตรา 86/8 ซึ่งผู้ประกอบการกลุ่มนี้จะได้รับสิทธิไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษี เมื่อขายสินค้าในแต่ละครั้งไม่เกินวงเงินที่กม.กำหนด (ไม่เกิน 1,000 บาท) เว้นแต่ผู้ซื้อเรียกร้องให้ออกใบกำกับภาษี 
อธิบดีได้ออกประกาศ VAT ฉ.154 กำหนดให้กิจการดังต่อไปนี้เป็นผู้ประกอบการรายย่อย
1. การขายสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการไม่เคยมีมูลค่าของฐานภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
2. การขายสินค้าที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการแต่ละแหน่งเป็นรถเข็น แผงลอง หรือหน่วยขายที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
3. การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา ที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู หรือผู้เข้าแข่งขัน
4. การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
5. การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
6. การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
7. การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลขน เช่น การให้บริการสถานที่จอดรถ หรือบริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนรายย่อยไม่จำเป็นต้องออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อจะร้องขอ

ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวจัดทำใบกำกับภาษีย่างย่อรวบรวมการขายที่มูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาทในหนึ่งวันทำการเพื่อเป็นเอกสารประกอบการลงรายงานภาษีขาย โดยให้ลงรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้า และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับซึ่งเกิดจากใบกำกับภาษีดังกล่าว

ที่มา : เอกสารภาษีอากร Vol.37 No. 435 December 2017

Share Button

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *