หน้าแรก
รับทำบัญชี
วางระบบบัญชี
ตรวจสอบบัญชี
จดทะเบียนธุรกิจ
Links
ติดต่อเรา
สาระน่ารู้  

 

  กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เรื่องการประกาศหนังสือพิมพ์ กรณีประชุมผู้ถือหุ้น  
  สรุปสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ที่ต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2551 )  
  การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา 1175) การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ต้องออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น/คณะกรรมการ  
  ....กรณีเป็นบริษัทจำกัด  
 
หัวข้อ
เดิม
ใหม่
1.การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรืออำนาจกรรมการ
เช่น ลาออก ตาย ล้มละลาย ไร้ความสามารถ
ประชุมสามัญประจำปี
ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
2.การเพิ่มทุน (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
3.การแก้ไขชื่อและตราสำคัญบริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
4.การแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัทฯ (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
5.การแก้ไขที่ตั้งสำนักงานใหญ่เฉพาะข้ามจังหวัด (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
6.การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท (มติพิเศษ) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ
7.การลดทุน (มติพิเศษ) มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ะมีการประชุมมติพิเศษออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนมติพิเศษแล้ว ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

ไม่ต้องลงก็ได้


โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ

ลงเมื่อไร ก็ได้ เพราะต้องนับวัน ถ้าปล่อยค้างไว้ 1 ปี มติยกเลิกตามกฏหมาย

8.แก้ไขเพิ่มดวงตราสำคัญ
(จะประชุมหรือไม่ก็ได้)
ไม่ต้องลงก็ได้ (ถ้าประชุม)ลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่
ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับ

9.การควบบริษัท (มติพิเศษ) มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น

ขั้นที่ 2 หลังจากจดทะเบียนพิเศษให้ควบบริษัท ทำหนังสือแจ้งเจ้าหนี้

ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 7 ครั้ง
ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ (เฉพาะขั้นที่ 1)
10.เลิกบริษัท มี 2 ขั้น ที่ต้องลงโฆษณา
ขั้นที่ 1 ออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น (ช่วงขอจดทะเบียนเลิก)

ขั้นที่ 2 เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ
ไม่ต้องลงก็ได้

โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน
วันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน

ประกาศโฆษณาเลิกในหนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก

11.การชำระบัญชี
ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อยืนยันตัวผู้ชำระบัญชีและอนุมัติงบการเงิน ณ วันเลิก

ออกหนังสือนัดประชุมเพื่อพิจารณาการชำระบัญชี
ไม่ต้องลงก็ได้


ไม่ต้องลงก็ได้

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับ

ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราวในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อน วันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับ
12.การแจ้งการจ่ายเงินปันผล (มาตรา 1204) ไม่ต้องลงก็ได้ ในกรณีมีหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือ
ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 คราวด้วย
 
  ....กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด  
 
หัวข้อ
เดิม
ใหม่
1.การแปลงสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทฯ จำกัด (เพิ่มส่วนที่12 ในหมวด4 มาตรา 1246/1-1246/7) ไม่ต้องลงก็ได้ ต้องโฆษณาหนังสือพิมพ์ 1 คราว
2.เลิกห้างหุ้นส่วน เมื่อจดทะเบียนเลิกเสร็จ โฆษณาหนังสือพิมพ์ 2 ครั้ง ประกาศโฆษณาเลิกใน หนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายใน 14 วันนับจากวันที่เลิก
 
 

ตัวอย่าง บริษัท ก. ต้องการประชุมสามัญประจำปี วันที่ 29 เมษายน 2552 ดังนั้นบริษัทฯ ก จะต้องลงประกาศ
ออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น ในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 4 - 21 เมษายน 2552 โดยจะลง
ก่อน หรือหลัง จากช่วงนี้ไม่ได้ (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน แต่ไม่เกิน 24 วัน)

ตัวอย่าง บริษัท ก. มีมติพิเศษ การแก้ไขชื่อและตราสำคัญของบริษัท โดยจะประชุมผู้ถือหุ้น วันที่ 30 มกราคม 2552
ดังนั้น บริษัท ก. ต้องลงประกาศออกหนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้นในหนังสือพิมพ์ท้องที่ 1 คราว ในระหว่างวันที่ 18 – 31
ธันวาคม 2551 และ1 - 15 มกราคม 2552 (ลงก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน แต่ไม่เกิน 42 วัน) การนับวัน รวมหมด ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดราชการ หรือ วันเสาร์ อาทิตย์

 
 
รายการหลัก
 
     
  ค่าปรับกรณียื่นงบล่าช้า หรือไม่ยื่นงบ  
     
 
ตารางค่าปรับ
ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
      
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/
หุ้นส่วนผู้จัดกาีร
1.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน 
1 ทุกประเภทยกเว้นกิจการร่วมค้า
600
600
1,200
2 กิจการร่วมค้า
600
-
600
 
2.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน 
1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
1,200
1,200
2,400
2 บริษัทจำกัด
2,400
2,400
4,800
3 นิติบุคคลต่างประเทศ
6,000
6,000
12,000
4 บริษํทมหาชนจำกัด
12,000
12,000
24,000
5 กิจการร่วมค้า
6,000
-
6,000
 
3.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 4เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน 
1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
2,400
2,400
4,800
2 บริษัทจำกัด
4,800
4,800
9,600
3 นิติบุคคลต่างประเทศ
12,000
12,000
24,000
4 บริษํทมหาชนจำกัด
24,000
24,000
48,000
5 กิจการร่วมค้า
12,000
-
12,000
 
4.อัตราค่าปรับกรณียื่่นงบการเงินล่าช้า่เกินกว่า 6 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน 
1 ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
3,600
3,600
7,200
2 บริษัทจำกัด
6,000
6,000
12,000
3 นิติบุคคลต่างประเทศ
18,000
18,000
36,000
4 บริษํทมหาชนจำกัด
36,000
36,000
72,000
5 กิจการร่วมค้า
18,000
-
18,000
 
     
 

สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัีญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2548 เป็นต้นไป อายุความของค่าปรับเป็น 1 ปี
นับจากวันครบกำหนดวันสุดท้ายของการยื่นงบการเงิน

กรณี ประชุมเกิน 4 เดือน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี
ปรับกรรมการท่านละ 5,000 บาท
ปรับนิติบุคคล 2,000 บาท
ถ้ายื่นงบทันภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม ถือว่าไม่ได้ยื่นงบช้าและไม่ต้องปรับตามอัตราข้างต้น

 
 
รายการหลัก
 
     
  ภาษีที่เกี่ยวข้อง กรณีจัดงานปีใหม่ให้พนักงาน และของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า  
     
 

การจัดงานปีใหม่ให้พนักงาน

การจัดงานปีใหม่ให้พนักงานในช่วงปีใหม่ หากนายจ้างได้มีการเขียนไว้เป็นสวัสดิการมีระเบียบระบุไว้ มีประเด็นในทางภาษีที่ต้องพิจารณาดังนี้

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ไม่ต้องห้าม
2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นสามารถนำมาเครมได้ ไม่ต้องห้าม
3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 ( 10 )
http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata42

ส่วนของขวัญปีใหม่ที่ให้กับพนักงาน
การที่นายจ้างให้ของขวัญปีใหม่แก่พนักงานประจำปีและกำหนดไว้เป็นระเบียบสวัสดิการพนักงาน ไม่ว่าจะให้ทุกคนหรือให้เฉพาะบางคนถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานตามมาตรา 40 (1) นายจ้างมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายพนักงานตามมาตรา 50 (1) มีประเด็นทางด้านภาษีที่ต้องพิจารณาดังนี้
1. ด้านนายจ้าง
1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม
1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้านายจ้างเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญดังกล่าวสามารถขอคืนหรือเครดิตภาษีขายได้ไม่ต้องห้าม

แต่อย่างไรก็ดีเมื่อนายจ้างได้มอบของขวัญให้แก่พนักงาน ถือว่านายจ้างขายสินค้าให้แก่พนักงานต้องนำส่งภาษีขายภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามมาตรา 77/1 (8) และกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ข้อ 2. (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า โดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร ถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร
http://www.rd.go.th/publish/3568.0.html

ข้อสังเกต ถ้านายจ้างให้ของขวัญแก่พนักงานจะต้องเสียภาษีขายถือเป็นการขายในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ถ้าให้เป็นเงิน บัตรกำนัล หรือสินค้าที่ไม่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น หนังสือ ตำรา ก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

2. ด้านลูกจ้าง
ถือเป็นเงินได้พีงประเมินของพนักงานตามมาตรา 40 (1) ดังนั้นผู้รับต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย

 

ของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า

การแจกของขวัญหรือของชำร่วยให้แก่ลูกค้า มีภาษีตามประมวลรัษฎากรมาเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง สรุปได้ ดังนี้

ภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยปกติการแจกของขวัญหรือของชำร่วย ถือเป็นการขายสินค้าในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่กฎหมายตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 ได้กำหนดลักษณะและเงื่อนไข ค่าตอบแทนที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณมูลค่าของฐานภาษี สำหรับการให้ของขวัญหรือของชำร่วยที่เป็นสินค้าจำพวกปฏิทิน สมุดบันทึกประจำวัน (Diary) หรือสินค้าที่มีลักษณะทำนองเดียวกันที่มีชื่อของผู้ประกอบการ ชื่อการค้าหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการปรากฏอยู่ และจะต้องมีราคาไม่เกินสมควร
นั่นก็หมายความว่า หากของขวัญหรือของชำร่วยที่แจกให้ลูกค้าเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ประกอบการไม่ต้องนำมูลค่าของขวัญหรือของชำร่วยที่แจกให้แก่ลูกค้าไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด

สำหรับภาษีซื้อที่เกิดขึ้นจากการซื้อของขวัญหรือของชำร่วยที่แจกให้แก่ลูกค้าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(4) แห่งประมวลรัษฎากร เพราะของขวัญฯ ถือเป็นค่ารับรองทำให้ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
กรณีของขวัญฯ ที่ให้แก่ลูกค้า หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ที่กล่าวมา ก็จะต้องนำมูลค่าของขวัญ ฯลฯ ไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมออกใบกำกับภาษีด้วย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ของขวัญหรือของชำร่วยที่ผู้ประกอบการได้แจกให้แก่ลูกค้านั้นถือว่าเป็นการขายสินค้า ผู้ประกอบการไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย แต่อย่างใด

รายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล ของขวัญหรือของชำร่วยที่ให้แก่ลูกค้าถือเป็นค่ารับรอง ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายไปหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด สำหรับภาษีซื้อต้องห้ามที่มิให้ขอคืนภาษี สามารถนำไปหักเป็นรายจ่ายค่ารับรองได้

ท่านผู้ประกอบการที่ทุนหนาหรือทุนน้อยแต่ใจใหญ่ จะแจกของขวัญหรือของชำร่วยที่มีราคาสูงเกินสมควรก็สามารถทำได้ ไม่มีข้อห้ามไว้ แต่ก็จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ
 
 
รายการหลัก
 
     
     
     
     
     
     
     
   
บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด
88/30 หมู่ 1 ถ.เอกชัย ต.นาดี อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 74000
โทร 034-110-369 โทรสาร 034-110-369

All right reserve 2008 ATS Accounting Co., Ltd.
Last updated 10-Apr-2015