December 2019 - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

Month: December 2019

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่ ตามประมวลรัษฏากร ภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์นั่ง มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถเคลมได้ ซึ่ง การจะดูว่า รถประเภทไหนเป็นรถยนต์นั่งมีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งหรือไม่นั้น หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าจดทะเบียนเป็นรถขนส่ง ก็ใช้ได้เพราะไม่ใช่รถยนต์นั่ง แต่ตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดไว้ว่า รถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งนั้น จะต้องเป็นรถยนต์ตามความหมายของภาษีสรรพสามิต ไม่เกี่ยวกับกฎหมายขนส่ง ดังนั้น จึงต้องไปดูว่าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น รถกระบะ 4 ประตู จัดอยู่ในรถประเภทไหน ซึ่งแต่เดิม รถกระบะ 4 ประตู (Double Cap) จัดอยู่ในประเภท 06.01 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่สามารถเคลมได้ แต่ถือเป็นโชคดีของหลาย ๆ คนที่เข้าใจผิด เนื่องจาก Read More

Share Button
ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ

ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ

ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ การยื่นภาษีกลางปี ภงด 51 บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี หรือ ภงด 51 โดยจะต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับจากวันครึ่งรอบบัญชีของนิติบุคคลนั้น ๆ เช่น บริษัทมีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี คือ 30 มิถุนายน ดังนั้น กำหนดการยื่นแบบ ภงด 51 คือ 31 สิงหาคม (2 เดือน นับจาก 30 มิถุนายน) โดยมีข้อแม้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิที่ยื่นไว้ตาม ภงด51 นั้น เมื่อเทียบกับ ภาษีนิติบุคคลประจำปี (ภงด50) ของปีนั้น ๆ แล้ว จะต้องประมาณการขาดได้ไม่เกิน 25% Read More

Share Button
การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อ

การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อไปแล้วทำอย่างไร

การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อไปแล้วทำอย่างไร หลายบริษัท มีการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้งานเป็นสำนักงาน โรงงาน หรืออื่น ๆ สำหรับธุรกิจในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่ง ภาษีซื้อจากการก่อสร้างทั้งหมดสามารถนำมาเคลมได้ ไม่ต้องห้าม แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกิดมีเหตุ ให้ต้องขายอาคารที่ก่อสร้างมานั้นต้องระวังด้วยนะครับว่า ภาษีซื้อที่เคยเคลมไปเมื่อตอนก่อสร้างอาคารนั้น ทำอย่างไร เรื่องนี้ ได้เขียนไว้ ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฏหมายกำหนด ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 มีหลายเรื่อง เช่น ภาษีซื้อเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ ฯลฯ แต่ส่วนที่เรากำลังพูดถึงในหัวข้อนี้ อยู่ในประกาศนี้ ข้อที่ (4) (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง Read More

Share Button