Blog Post - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

Professional Services

บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด ให้บริการด้านการรับทำบัญชี วางระบบบัญชี การตรวจสอบบัญชี บริการด้านภาษี การจดทะเบียนธุรกิจทุกประเภท บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด ดำเนินงานโดยทีมงานที่เชี่ยวชาญด้านบัญชี และสอบบัญชี มีประสบการณ์ ยาวนาน มากว่า 20 ปี ให้บริการธุรกิจหลากหลายประเภท จึงมั่นใจได้ว่า ท่านจะได้พบกับทีมงานมืออาชีพ ผลงานคุณภาพที่ได้มาตรฐาน และบริการในราคาที่ยุติธรรม เราเข้าใจว่า การจะให้ใครมาดูแลเรื่องบัญชีให้กิจการของท่านไม่ใช่เรื่องง่าย ท่านจะต้องแน่ใจว่า เป็นผู้มี ความรู้ความสามารถ ไม่ทำให้ท่านเกิดปัญหา เราขอเชิญชวนให้ท่านโทรหาเรา ท่านจะได้พบกับ คำแนะนำ อย่างมืออาชีพ ที่จะทำให้ท่านไว้วางใจในบริการของเรา

Share Button

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook, Google

การจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook, Google มีประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล รายจ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ และมีหลักฐานการจ่ายถูกต้อง ซึ่งโดยปกติ จะพิจารณาจากเอกสารเป็นหลัก การดูว่ารายจ่ายเกี่ยวข้องกับกิจการหรือไม่ เอกสารจะบอกได้ครับ คือจะต้องมีชื่อบริษัทเราอยู่ในเอกสารนั้น ถ้าเป็นชื่อกรรมการ ชื่อบุคคล หรือสด อันนี้พิสูจน์ไม่ได้ครับว่า เกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างไร นอกจากนี้ จะต้องพิสูจน์ผู้รับเงินได้ว่าเราจ่ายเงินให้ใคร ดังนั้น การจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook หรือ Google ก็ควรจะออกใบเสร็จในนามบริษัทนะครับ จะได้พิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับกิจการจริง ส่วนเรื่องการจ่ายเงิน ปกติก็ต้องจ่ายทาง บัตรเครดิต หรือโอนเงินอยู่แล้ว ก็ใช้หลักฐานนั้นแนบประกอบว่ามีการจ่ายค่าโฆษณาจริง รายจ่ายนี้ก็เป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคได้ ไม่ต้องห้าม 2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ ในมาตรา 70 ระบุไว้ดังนี้ มาตรา 70 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) Read More

Share Button
รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่ ตามประมวลรัษฏากร ภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์นั่ง มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถเคลมได้ ซึ่ง การจะดูว่า รถประเภทไหนเป็นรถยนต์นั่งมีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งหรือไม่นั้น หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าจดทะเบียนเป็นรถขนส่ง ก็ใช้ได้เพราะไม่ใช่รถยนต์นั่ง แต่ตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดไว้ว่า รถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งนั้น จะต้องเป็นรถยนต์ตามความหมายของภาษีสรรพสามิต ไม่เกี่ยวกับกฎหมายขนส่ง ดังนั้น จึงต้องไปดูว่าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น รถกระบะ 4 ประตู จัดอยู่ในรถประเภทไหน ซึ่งแต่เดิม รถกระบะ 4 ประตู (Double Cap) จัดอยู่ในประเภท 06.01 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่สามารถเคลมได้ แต่ถือเป็นโชคดีของหลาย ๆ คนที่เข้าใจผิด เนื่องจาก Read More

Share Button
ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ

ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ

ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ การยื่นภาษีกลางปี ภงด 51 บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี หรือ ภงด 51 โดยจะต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับจากวันครึ่งรอบบัญชีของนิติบุคคลนั้น ๆ เช่น บริษัทมีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี คือ 30 มิถุนายน ดังนั้น กำหนดการยื่นแบบ ภงด 51 คือ 31 สิงหาคม (2 เดือน นับจาก 30 มิถุนายน) โดยมีข้อแม้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิที่ยื่นไว้ตาม ภงด51 นั้น เมื่อเทียบกับ ภาษีนิติบุคคลประจำปี (ภงด50) ของปีนั้น ๆ แล้ว จะต้องประมาณการขาดได้ไม่เกิน 25% Read More

Share Button
การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อ

การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อไปแล้วทำอย่างไร

การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อไปแล้วทำอย่างไร หลายบริษัท มีการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้งานเป็นสำนักงาน โรงงาน หรืออื่น ๆ สำหรับธุรกิจในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่ง ภาษีซื้อจากการก่อสร้างทั้งหมดสามารถนำมาเคลมได้ ไม่ต้องห้าม แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกิดมีเหตุ ให้ต้องขายอาคารที่ก่อสร้างมานั้นต้องระวังด้วยนะครับว่า ภาษีซื้อที่เคยเคลมไปเมื่อตอนก่อสร้างอาคารนั้น ทำอย่างไร เรื่องนี้ ได้เขียนไว้ ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฏหมายกำหนด ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 มีหลายเรื่อง เช่น ภาษีซื้อเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ ฯลฯ แต่ส่วนที่เรากำลังพูดถึงในหัวข้อนี้ อยู่ในประกาศนี้ ข้อที่ (4) (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง Read More

Share Button

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาต่างจังหวัด

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาต่างจังหวัด การจัดสัมมนาต่างจังหวัด หลายบริษัท มีการจัดสัมมนาให้กับพนักงานของตนเองที่ต่างจังหวัด โดยเป็นการอบรมพนักงาน พร้อมกับให้พนักงานไปพักผ่อนไปด้วยในตัว ดูแล้วเหมือนกับการพาพนักงานไปเที่ยว แล้วจะบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างไร สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ ภาษีซื้อที่เกิดจากการอบรมสัมมนาต่างจังหวัด สามารถเคลมได้หรือไม่ ภาษีที่เกี่ยวข้อง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 122/2545 ข้อ 2  กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสิทธินำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (3) ค่าใช้จ่ายในการจัดการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของตน (In-house Training) โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นดำเนินการฝึกอบรมเอง หรือว่าจ้างให้สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพของทางราชการ หรือสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพของเอกชนดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของตน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนาแบบ In-House Training ตามข้อ 2 (3) สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ไม่ต้องห้าม และเมื่อ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ ภาษีซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามไปด้วย บริษัทฯ สามารถนำภาษีซื้อ (vat) ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมดังกล่าวท้งหมด Read More

Share Button
หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ 1. ประเภทของเอกสารประกอบการลงบัญชี ตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และประกาศกรมทะเบียนการค้าเรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 หมวด 4 ข้อ 8 “เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (2) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (3) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง” 2. หลักเกณฑ์การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทำงภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ผู้รับเงินไม่มีหลักฐานการรับเงินที่เพียงพอต่อการบันทึกบัญชี กิจการสามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 เอกสารแสดงการรับเงินของผู้รับเงิน อาจเลือกใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ 2.1.1 ใบรับ ตามมาตรา Read More

Share Button

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย การประกอบธุรกิจขนส่ง ถือเป็นกิจการให้บริการประเภทหนึ่ง โดยสรุปจากประมวลกม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 ได้ว่า การขนส่ง หมายถึง ขนคน หรือขนของ ส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง การขนส่งทางบก การให้บริการขนส่งทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามราตรา 81 แห่งประมวลรัษฏากร ที่ได้กำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 81 (1) (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร และ มาตรา 81 (1) (ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ดังนั้น กิจการขนส่งทางบก ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและจะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ อันเนื่องจากกฎหมายยกเว้นไว้ ไม่ได้ให้สิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ว่าจ้างเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา ร้อยละ 1.0 คำว่าการขนส่งสาธารณะ หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ ข้อสังเกตุอย่างหนึ่ง Read More

Share Button

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร 1. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติก่อนหรือไม่  ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องเป็นกรณีของการประกิจกิจกาขายปลีก ถ้าเป็นบริการต้องเป็นการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะดังนี้ 1.1 เป็นการขายสิ้นค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำไปใช้โดยไม่ได้นำไปขายต่อ 1.2การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร 1.3 ผู้ประกอบการตาม 1.1 และ 1.2 ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับที่มีรายการครบถ้วน กรณีที่ผู้ซื้อร้องขอ บางครั้ง กิจการที่ทำไม่ตรงกับตัวอย่างที่สรรพากรให้ไว้ ก็ให้พิจารณาได้เลยว่า ถ้าขายให้ผู้บริโภค และผู้บริโภคเป็นคนใช้ ไม่ได้ไปขายต่อ ก็สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลย โดยไม่ต้องขออนุมัติ 2. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้วลงรายการในรายงานภาษีขายอย่างไร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 ให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับ และให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการ โดยให้เป็นไปตามหลักการนี้ 2.1 ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้า และรายการสินค้าต้องแยกจำนวนภาษีมูลเพิ่ม 2.2 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ของใบกำกับภาษีว่า “เล่มที่…เลขที่…ถึงเลขที่…” 2.3 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ Read More

Share Button

เสี่ยงกว่าไม๊ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว

เสี่ยงกว่ามั้ย ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว การจัดกลุ่มผู้เสียภาษีของกรมสรรพากร ซึ่งจัดกลุ่มโดยใช้ข้อมูลจาก 3 ส่วนคือ 1.การประเมินสถานะผู้ประกบอการโดยเจ้าหน้าที่สรรพากรจะลงพื้นที่ไปสถานประกอบการ จัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง และการควบคุมภายในของกิจการ จัดทำอัตราส่วนทางการเงินแล้วรายงานเก็บไว้ในระบบ 2.ใช้ Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลการยื่นภาษีของผู้ประกอบการ ในการศึกษาว่า กลุ่มไหนมีพฤติกรรมอย่างไร 3.Risk Based Audit System (RBA) ประเภมินความเสี่ยงผู้เสียภาษีผ่าน 151 เกณฑ์ของสรรพากร ซึ่งมีมากพอที่จะทำให้การตรวจสอบเข้าถึงความผิดปกติของผู้ประกอบการและเกณฑ์ความเสี่ยงนั้นจะเชื่อโยงกับ Data Analytics กรมสรรพากรแบ่งผู้ประกอบการเป็น 3 กลุ่มกิจการหลักคือ 1. กิจการผลิต 2.กิจการซื้อมาขายไป 3 กิจการบริการ กลยุทธ์สำคัญของกรมสรรพากร คือการพิจารณาวิธีการรับชำระเงินของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นการประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยพบว่า ธุรกิจที่ขายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภคมีแนวโน้มหลบเลี่ยงภาษีสูงกว่าธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ โดยเลือกใช้เงินสดในการรับชำระ รูปแบบของความผิดปกติที่สรรพากรพบในกลุ่ม SMEs คือการจงใจทำให้รายได้ออกนอกระบบ นำค่าใช้จ่ายเท่าที่ต้องการ หรือหารายจ่ายเพิ่ม ส่วนนี้กรมสรรพากรยืนยันว่า Data Analytics Read More

Share Button

ค่าปรับภาษีอากรทุกประเภท ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญาตามกฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี เช่น ค่าปรับภาษีศุลกากร ค่าปรับภาษีโรงเรือน ค่าปรับภาษีป้าย ซึ่งเดิม สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มีแต่ค่าปรับตามประมวลรัษฏากรเท่านั้นที่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม แต่ตามคำวินิจฉัยใหม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษีทั้งหมด ส่วนค่าปรับตามกฎหมายอื่น เช่น ค่าปรับจากประกันสังคม ใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร ยังสามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฏร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากรจัดเก็บมี 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.ภาษีอากรแสตมป์ 5.ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่นได้แก่ 1.ภาษีป้าย 2.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 3.ภาษีบำรุงท้องที่ สรุป เบี้ยเปรับ เงินเพิ่ม สำหรับรายการไหน ที่มีคำว่า ภาษีนำหน้า ถือว่าเป็นภาษีอากร ตามคำวินิจฉัยใหม่นี้ เป็นรายจ่ายต้องห้าม ที่มา : คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560 สั่ง ณ วันที่ Read More

Share Button