November 2019 - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

Month: November 2019

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาต่างจังหวัด

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาต่างจังหวัด การจัดสัมมนาต่างจังหวัด หลายบริษัท มีการจัดสัมมนาให้กับพนักงานของตนเองที่ต่างจังหวัด โดยเป็นการอบรมพนักงาน พร้อมกับให้พนักงานไปพักผ่อนไปด้วยในตัว ดูแล้วเหมือนกับการพาพนักงานไปเที่ยว แล้วจะบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างไร สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ ภาษีซื้อที่เกิดจากการอบรมสัมมนาต่างจังหวัด สามารถเคลมได้หรือไม่ ภาษีที่เกี่ยวข้อง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 122/2545 ข้อ 2  กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสิทธินำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (3) ค่าใช้จ่ายในการจัดการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของตน (In-house Training) โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นดำเนินการฝึกอบรมเอง หรือว่าจ้างให้สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพของทางราชการ หรือสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพของเอกชนดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของตน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนาแบบ In-House Training ตามข้อ 2 (3) สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ไม่ต้องห้าม และเมื่อ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ ภาษีซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามไปด้วย บริษัทฯ สามารถนำภาษีซื้อ (vat) ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมดังกล่าวท้งหมด Read More

Share Button
หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ 1. ประเภทของเอกสารประกอบการลงบัญชี ตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และประกาศกรมทะเบียนการค้าเรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 หมวด 4 ข้อ 8 “เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (2) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (3) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง” 2. หลักเกณฑ์การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทำงภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ผู้รับเงินไม่มีหลักฐานการรับเงินที่เพียงพอต่อการบันทึกบัญชี กิจการสามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 เอกสารแสดงการรับเงินของผู้รับเงิน อาจเลือกใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ 2.1.1 ใบรับ ตามมาตรา Read More

Share Button

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย การประกอบธุรกิจขนส่ง ถือเป็นกิจการให้บริการประเภทหนึ่ง โดยสรุปจากประมวลกม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 ได้ว่า การขนส่ง หมายถึง ขนคน หรือขนของ ส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง การขนส่งทางบก การให้บริการขนส่งทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามราตรา 81 แห่งประมวลรัษฏากร ที่ได้กำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 81 (1) (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร และ มาตรา 81 (1) (ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ดังนั้น กิจการขนส่งทางบก ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและจะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ อันเนื่องจากกฎหมายยกเว้นไว้ ไม่ได้ให้สิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ว่าจ้างเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา ร้อยละ 1.0 คำว่าการขนส่งสาธารณะ หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ ข้อสังเกตุอย่างหนึ่ง Read More

Share Button

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร 1. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติก่อนหรือไม่  ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องเป็นกรณีของการประกิจกิจกาขายปลีก ถ้าเป็นบริการต้องเป็นการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะดังนี้ 1.1 เป็นการขายสิ้นค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำไปใช้โดยไม่ได้นำไปขายต่อ 1.2การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร 1.3 ผู้ประกอบการตาม 1.1 และ 1.2 ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับที่มีรายการครบถ้วน กรณีที่ผู้ซื้อร้องขอ บางครั้ง กิจการที่ทำไม่ตรงกับตัวอย่างที่สรรพากรให้ไว้ ก็ให้พิจารณาได้เลยว่า ถ้าขายให้ผู้บริโภค และผู้บริโภคเป็นคนใช้ ไม่ได้ไปขายต่อ ก็สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลย โดยไม่ต้องขออนุมัติ 2. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้วลงรายการในรายงานภาษีขายอย่างไร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 ให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับ และให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการ โดยให้เป็นไปตามหลักการนี้ 2.1 ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้า และรายการสินค้าต้องแยกจำนวนภาษีมูลเพิ่ม 2.2 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ของใบกำกับภาษีว่า “เล่มที่…เลขที่…ถึงเลขที่…” 2.3 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ Read More

Share Button

เสี่ยงกว่าไม๊ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว

เสี่ยงกว่ามั้ย ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว การจัดกลุ่มผู้เสียภาษีของกรมสรรพากร ซึ่งจัดกลุ่มโดยใช้ข้อมูลจาก 3 ส่วนคือ 1.การประเมินสถานะผู้ประกบอการโดยเจ้าหน้าที่สรรพากรจะลงพื้นที่ไปสถานประกอบการ จัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง และการควบคุมภายในของกิจการ จัดทำอัตราส่วนทางการเงินแล้วรายงานเก็บไว้ในระบบ 2.ใช้ Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลการยื่นภาษีของผู้ประกอบการ ในการศึกษาว่า กลุ่มไหนมีพฤติกรรมอย่างไร 3.Risk Based Audit System (RBA) ประเภมินความเสี่ยงผู้เสียภาษีผ่าน 151 เกณฑ์ของสรรพากร ซึ่งมีมากพอที่จะทำให้การตรวจสอบเข้าถึงความผิดปกติของผู้ประกอบการและเกณฑ์ความเสี่ยงนั้นจะเชื่อโยงกับ Data Analytics กรมสรรพากรแบ่งผู้ประกอบการเป็น 3 กลุ่มกิจการหลักคือ 1. กิจการผลิต 2.กิจการซื้อมาขายไป 3 กิจการบริการ กลยุทธ์สำคัญของกรมสรรพากร คือการพิจารณาวิธีการรับชำระเงินของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นการประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยพบว่า ธุรกิจที่ขายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภคมีแนวโน้มหลบเลี่ยงภาษีสูงกว่าธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ โดยเลือกใช้เงินสดในการรับชำระ รูปแบบของความผิดปกติที่สรรพากรพบในกลุ่ม SMEs คือการจงใจทำให้รายได้ออกนอกระบบ นำค่าใช้จ่ายเท่าที่ต้องการ หรือหารายจ่ายเพิ่ม ส่วนนี้กรมสรรพากรยืนยันว่า Data Analytics Read More

Share Button

ค่าปรับภาษีอากรทุกประเภท ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญาตามกฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี เช่น ค่าปรับภาษีศุลกากร ค่าปรับภาษีโรงเรือน ค่าปรับภาษีป้าย ซึ่งเดิม สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มีแต่ค่าปรับตามประมวลรัษฏากรเท่านั้นที่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม แต่ตามคำวินิจฉัยใหม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษีทั้งหมด ส่วนค่าปรับตามกฎหมายอื่น เช่น ค่าปรับจากประกันสังคม ใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร ยังสามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฏร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากรจัดเก็บมี 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.ภาษีอากรแสตมป์ 5.ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่นได้แก่ 1.ภาษีป้าย 2.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 3.ภาษีบำรุงท้องที่ สรุป เบี้ยเปรับ เงินเพิ่ม สำหรับรายการไหน ที่มีคำว่า ภาษีนำหน้า ถือว่าเป็นภาษีอากร ตามคำวินิจฉัยใหม่นี้ เป็นรายจ่ายต้องห้าม ที่มา : คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560 สั่ง ณ วันที่ Read More

Share Button
ภาษีที่เกี่ยวข้อง กรณีจัดงานปีใหม่ให้พนักงาน และของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า

ภาษีที่เกี่ยวข้อง กรณีจัดงานปีใหม่ให้พนักงาน และของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้า

การจัดงานปีใหม่ให้ พนักงาน การจัดงานปีใหม่ให้พนักงานในช่วงปีใหม่ หากนายจ้างได้มีการเขียนไว้เป็นสวัสดิการมีระเบียบระบุไว้ มีประเด็นในทางภาษีที่ต้องพิจารณาดังนี้ 1. ภาษีเงินได้นิติบุคคลถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ไม่ต้องห้าม2. ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีซื้อที่เกิดขึ้นสามารถนำมาเคลมได้ ไม่ต้องห้าม3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 ( 10 ) http://www.rd.go.th/publish/5937.0.html#mata42 ส่วนของขวัญปีใหม่ที่ให้กับพนักงานการที่นายจ้างให้ของขวัญปีใหม่แก่พนักงานประจำปีและกำหนดไว้เป็นระเบียบสวัสดิการพนักงาน ไม่ว่าจะให้ทุกคนหรือให้เฉพาะบางคนถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงานตามมาตรา 40 (1) นายจ้างมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายพนักงานตามมาตรา 50 (1) มีประเด็นทางด้านภาษีที่ต้องพิจารณาดังนี้1. ด้านนายจ้าง1.1 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม1.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้านายจ้างเป็นผู้ประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อของขวัญดังกล่าวสามารถขอคืนหรือเครดิตภาษีขายได้ไม่ต้องห้าม แต่อย่างไรก็ดีเมื่อนายจ้างได้มอบของขวัญให้แก่พนักงาน ถือว่านายจ้างขายสินค้าให้แก่พนักงานต้องนำส่งภาษีขายภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตามมาตรา 77/1 (8) และกรมสรรพากรได้ออกคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.86/2542 ข้อ 2. (10) ผู้ประกอบการจดทะเบียนจำหน่าย จ่าย โอนสินค้า โดยไม่มีค่าตอบแทน และไม่ได้เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าตามมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร Read More

Share Button

การใช้อัตราแลกเปลี่ยน กรณีการส่งออกบริการ

การส่งออกบริการ คำสั่งกรมสรรพากร ป71.2541 – เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน  ข้อ 3  การออกใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/5 แห่งประมวลรัษฎากร สำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการดังต่อไปนี้ ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อ 2                         (1) การออกใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าโดยการส่งออก ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ส่งออกมีสิทธิใช้ใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ซึ่งผู้ส่งออกได้ออกเป็นปกติตามประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศเป็นใบกำกับภาษี ถ้าใบกำกับสินค้าหรืออินวอยซ์ได้ออกเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ ใบกำกับภาษีในกรณีดังกล่าวจึงแสดงมูลค่าของสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศได้  ข้อ 4  การลงรายการในรายงานภาษีขายตามมาตรา 87(1) แห่งประมวลรัษฎากร  (2) การลงรายการในรายงานภาษีขายของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าซึ่งได้ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 3(1) ต้องลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่ชำระอากรขาออก หรือวางหลักประกันอากรขาออก หรือจัดให้มีผู้ค้ำประกันอากรขาออก เว้นแต่ในกรณีที่ไม่ต้องเสียอากรขาออกหรือได้รับยกเว้นอากรขาออกก็ให้ลงรายการภายในสามวันทำการนับแต่วันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร โดยให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในรายงานภาษีขาย ดังต่อไปนี้                               (ก) ถ้าได้รับเงินตราต่างประเทศจากการส่งออกสินค้าในขณะที่ออกใบกำกับภาษีตามข้อ 3(1) ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 79/4 ในกรณีที่มูลค่าของฐานภาษีที่ได้รับหรือ พึงได้รับจากการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเงินตราต่างประเทศนั้น เป็นเงินตราไทยตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้     (1) ในกรณีได้รับเงินตราต่างประเทศจากการ ขายสินค้าหรือการให้บริการ Read More

Share Button

Credits

Credits for some picture and icon using in this website www.pexels.com www.iconfinder.com www.freepik.com Thank you vector created by freepik – www.freepik.com Background vector created by freepik – www.freepik.com

Share Button

กฎหมายหุ้นส่วนบริษัท เรื่องการประกาศหนังสือพิมพ์ กรณีประชุมผู้ถือหุ้น

สรุปสิ่งสำคัญที่บริษัทฯ ที่ต้องลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น (เริ่มใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค. 2551 ) การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น (มาตรา 1175) การเปลี่ยนแปลง ดังต่อไปนี้ต้องออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น/คณะกรรมการ กรณีเป็นบริษัทจำกัด หัวข้อ การลงประกาศหนังสือพิมพ์ 1.การเปลี่ยนแปลงกรรมการหรืออำนาจกรรมการเช่น ลาออก ตาย ล้มละลาย ไร้ความสามารถประชุมสามัญประจำปี ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ 2.การเพิ่มทุน (มติพิเศษ) ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ 3.การแก้ไขชื่อและตราสำคัญบริษัทฯ (มติพิเศษ) ต้องลงพิมพ์โฆษณา 1 คราว ในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ 4.การแก้ไขวัตถุประสงค์บริษัทฯ (มติพิเศษ) ต้องลงพิมพ์โฆษณา Read More

Share Button