เสี่ยงกว่าไม๊ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

เสี่ยงกว่าไม๊ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว

เสี่ยงกว่ามั้ย ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว

การจัดกลุ่มผู้เสียภาษีของกรมสรรพากร ซึ่งจัดกลุ่มโดยใช้ข้อมูลจาก 3 ส่วนคือ
1.การประเมินสถานะผู้ประกบอการโดยเจ้าหน้าที่สรรพากรจะลงพื้นที่ไปสถานประกอบการ จัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง และการควบคุมภายในของกิจการ จัดทำอัตราส่วนทางการเงินแล้วรายงานเก็บไว้ในระบบ
2.ใช้ Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลการยื่นภาษีของผู้ประกอบการ ในการศึกษาว่า กลุ่มไหนมีพฤติกรรมอย่างไร
3.Risk Based Audit System (RBA) ประเภมินความเสี่ยงผู้เสียภาษีผ่าน 151 เกณฑ์ของสรรพากร ซึ่งมีมากพอที่จะทำให้การตรวจสอบเข้าถึงความผิดปกติของผู้ประกอบการและเกณฑ์ความเสี่ยงนั้นจะเชื่อโยงกับ Data Analytics
กรมสรรพากรแบ่งผู้ประกอบการเป็น 3 กลุ่มกิจการหลักคือ 1. กิจการผลิต 2.กิจการซื้อมาขายไป 3 กิจการบริการ
กลยุทธ์สำคัญของกรมสรรพากร คือการพิจารณาวิธีการรับชำระเงินของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นการประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยพบว่า ธุรกิจที่ขายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภคมีแนวโน้มหลบเลี่ยงภาษีสูงกว่าธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ โดยเลือกใช้เงินสดในการรับชำระ
รูปแบบของความผิดปกติที่สรรพากรพบในกลุ่ม SMEs คือการจงใจทำให้รายได้ออกนอกระบบ นำค่าใช้จ่ายเท่าที่ต้องการ หรือหารายจ่ายเพิ่ม ส่วนนี้กรมสรรพากรยืนยันว่า Data Analytics ที่ใช้อยู่จะวิเคราะห์ได้ทั้งจากตัวเลขทรัพย์สินที่สูงผิปกติ มีกรรมการเงินเดือนสูง หรือมีพนักงานมากกว่าที่ทำงานจริง อีกกรณีคือกลุ่มที่แสดงตัวเลขผิดปกติชัดเช่น เช่นกิจการผลิต มีรายได้ต่ำ แต่มีสนิค้าคงเหลือสูง Stock เยอะ หรือมีเงินกู้ยืมกรรมการสูง หรือธุรกิจบริการที่มีรายได้ต่ำ แต่มีเงินให้กรรมการกู้
10 สัญญาณอัตรายทางบัญชี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้สำรวจตนเอง และปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ดังนี้
ส่วนสินทรัพย์
1.ใช้เงินสดเป็นหลัก มีแนวโน้มหลบเลี่ยงการตรวจสอบ เสี่ยงมากกว่าผู้ใช้ e-Payment ของระบบธนาคาร
2.สินค้าคงเหลือไม่ถูกต้อง สินค้าขาดหรือเกินไม่ตรงกับความเป็นจริง
3.ไม่มีทรัพย์สิน หรือมีสินทรัพย์มากผิดปกติ บางธุรกิจเช่น โรงแรมมีค่าน้ำ ไฟ สูงขึ้นแต่รายได้กลับลด ถือว่าผิดปกติ เพราะเป็นต้นทุนผันแปรตามรายได้
ส่วนหนี้สินและทุน
4.เงินกู้ยืมกรรมการสูงมาก และไม่สามารถชี้แจงได้ มีแต่รายการยืมเงินมากขึ้น ๆ แต่ไม่เคยคืนเงินเลย
5.ขาดทุนสะสมเป็นเวลานาน จนเกินทุน ปกติจะปิดกิจการ แต่ยังมีเงินให้กรรมการกู้ยืมได้อยู่
ส่วนรายได้
6.บันทึกรายได้ไม่ถูกต้อง ออกใบกำกับภาษีทุกครั้งที่ขายหรือไม่
7.บันทึกรายได้ไม่ครบถ้วน มีรายได้อื่น ๆ เช่น ผลประโยชน์จากการทำยอดถึงเป้า ได้ไปเที่ยว ต้องบันทึกรายได้ด้วย
ส่วนค่าใช้จ่าย
8.ค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่รายได้ลดลง ค่าใช้จ่ายเป็นต้นทุนในการทำธุรกิจ ถ้ารายได้ไม่เพิ่มตามมีแนวโน้มผิดปกติ
9.ค่าใช้จ่ายสูงเมื่อเทียบกับรายได้ กรมสรรพากรจะเปรียบเทียบกับกิจการของรายอื่นในประเภทธุรกิจเดียวกันย้อนหลัง 3 ปี

10.สร้างค่าใช้จ่ายเท็จ เช่น นำสำเนาบัตรประชาชนผู้อื่นและทำเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ที่มา : เอกสารภาษีอากร No 453 June 2019

Share Button

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *