ความรู้เรื่องภาษี สำนักงานบัญชีสมุทรสาคร Archives - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

ความรู้เรื่องภาษี สำนักงานบัญชีสมุทรสาคร

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook, Google

การจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook, Google มีประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง 1.ภาษีเงินได้นิติบุคคล รายจ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ต้องเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง เป็นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจการ และมีหลักฐานการจ่ายถูกต้อง ซึ่งโดยปกติ จะพิจารณาจากเอกสารเป็นหลัก การดูว่ารายจ่ายเกี่ยวข้องกับกิจการหรือไม่ เอกสารจะบอกได้ครับ คือจะต้องมีชื่อบริษัทเราอยู่ในเอกสารนั้น ถ้าเป็นชื่อกรรมการ ชื่อบุคคล หรือสด อันนี้พิสูจน์ไม่ได้ครับว่า เกี่ยวข้องกับบริษัทอย่างไร นอกจากนี้ จะต้องพิสูจน์ผู้รับเงินได้ว่าเราจ่ายเงินให้ใคร ดังนั้น การจ่ายค่าโฆษณาให้ Facebook หรือ Google ก็ควรจะออกใบเสร็จในนามบริษัทนะครับ จะได้พิสูจน์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับกิจการจริง ส่วนเรื่องการจ่ายเงิน ปกติก็ต้องจ่ายทาง บัตรเครดิต หรือโอนเงินอยู่แล้ว ก็ใช้หลักฐานนั้นแนบประกอบว่ามีการจ่ายค่าโฆษณาจริง รายจ่ายนี้ก็เป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคได้ ไม่ต้องห้าม 2.ภาษีหัก ณ ที่จ่าย การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ ในมาตรา 70 ระบุไว้ดังนี้ มาตรา 70 บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3) (4) Read More

Share Button
รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่

รถกระบะ 4 ประตู เคลมภาษีซื้อได้หรือไม่ ตามประมวลรัษฏากร ภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์นั่ง มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถเคลมได้ ซึ่ง การจะดูว่า รถประเภทไหนเป็นรถยนต์นั่งมีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งหรือไม่นั้น หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าจดทะเบียนเป็นรถขนส่ง ก็ใช้ได้เพราะไม่ใช่รถยนต์นั่ง แต่ตามประมวลรัษฎากร ได้กำหนดไว้ว่า รถยนต์นั่งที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่งนั้น จะต้องเป็นรถยนต์ตามความหมายของภาษีสรรพสามิต ไม่เกี่ยวกับกฎหมายขนส่ง ดังนั้น จึงต้องไปดูว่าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตนั้น รถกระบะ 4 ประตู จัดอยู่ในรถประเภทไหน ซึ่งแต่เดิม รถกระบะ 4 ประตู (Double Cap) จัดอยู่ในประเภท 06.01 คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง ดังนั้น ภาษีซื้อที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่สามารถเคลมได้ แต่ถือเป็นโชคดีของหลาย ๆ คนที่เข้าใจผิด เนื่องจาก Read More

Share Button
ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ

ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ

ประมาณการภาษีกลางปีขาดไปอย่างไรจึงไม่โดนปรับ การยื่นภาษีกลางปี ภงด 51 บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่น ๆ ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลกลางปี หรือ ภงด 51 โดยจะต้องยื่นภายใน 2 เดือน นับจากวันครึ่งรอบบัญชีของนิติบุคคลนั้น ๆ เช่น บริษัทมีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี คือ 30 มิถุนายน ดังนั้น กำหนดการยื่นแบบ ภงด 51 คือ 31 สิงหาคม (2 เดือน นับจาก 30 มิถุนายน) โดยมีข้อแม้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิที่ยื่นไว้ตาม ภงด51 นั้น เมื่อเทียบกับ ภาษีนิติบุคคลประจำปี (ภงด50) ของปีนั้น ๆ แล้ว จะต้องประมาณการขาดได้ไม่เกิน 25% Read More

Share Button
การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อ

การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อไปแล้วทำอย่างไร

การขายอาคารที่เคยเคลมภาษีซื้อไปแล้วทำอย่างไร หลายบริษัท มีการก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้งานเป็นสำนักงาน โรงงาน หรืออื่น ๆ สำหรับธุรกิจในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่ง ภาษีซื้อจากการก่อสร้างทั้งหมดสามารถนำมาเคลมได้ ไม่ต้องห้าม แต่เมื่อเวลาผ่านไป เกิดมีเหตุ ให้ต้องขายอาคารที่ก่อสร้างมานั้นต้องระวังด้วยนะครับว่า ภาษีซื้อที่เคยเคลมไปเมื่อตอนก่อสร้างอาคารนั้น ทำอย่างไร เรื่องนี้ ได้เขียนไว้ ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับภาษีซื้อต้องห้าม ภาษีซื้อต้องห้าม มีลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่มีใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีสูญหาย หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฏหมายกำหนด ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42 มีหลายเรื่อง เช่น ภาษีซื้อเกี่ยวกับรถยนต์นั่ง ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ ฯลฯ แต่ส่วนที่เรากำลังพูดถึงในหัวข้อนี้ อยู่ในประกาศนี้ ข้อที่ (4) (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง Read More

Share Button

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาต่างจังหวัด

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการจัดสัมมนาต่างจังหวัด การจัดสัมมนาต่างจังหวัด หลายบริษัท มีการจัดสัมมนาให้กับพนักงานของตนเองที่ต่างจังหวัด โดยเป็นการอบรมพนักงาน พร้อมกับให้พนักงานไปพักผ่อนไปด้วยในตัว ดูแล้วเหมือนกับการพาพนักงานไปเที่ยว แล้วจะบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างไร สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ ภาษีซื้อที่เกิดจากการอบรมสัมมนาต่างจังหวัด สามารถเคลมได้หรือไม่ ภาษีที่เกี่ยวข้อง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 122/2545 ข้อ 2  กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้ เพื่อการศึกษาหรือฝึกอบรมลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของกิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นนายจ้าง ถือเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวมีสิทธินำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร (3) ค่าใช้จ่ายในการจัดการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของตน (In-house Training) โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นดำเนินการฝึกอบรมเอง หรือว่าจ้างให้สถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพของทางราชการ หรือสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมวิชาชีพของเอกชนดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างของตน ดังนั้น ค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมสัมมนาแบบ In-House Training ตามข้อ 2 (3) สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ไม่ต้องห้าม และเมื่อ เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการ ภาษีซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามไปด้วย บริษัทฯ สามารถนำภาษีซื้อ (vat) ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมดังกล่าวท้งหมด Read More

Share Button
หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ

หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ หลักฐานการจ่ายที่สรรพากรยอมรับ 1. ประเภทของเอกสารประกอบการลงบัญชี ตามมาตรา 7 (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 และประกาศกรมทะเบียนการค้าเรื่อง กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ. 2544 หมวด 4 ข้อ 8 “เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ได้แก่ บันทึก หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานในการลงรายการในบัญชี ซึ่งแยกได้เป็น 3 ประเภท คือ (1) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยบุคคลภายนอก (2) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อออกให้แก่บุคคลภายนอก (3) เอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่จัดทำขึ้นโดยผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง” 2. หลักเกณฑ์การจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทำงภาษีได้ กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ผู้รับเงินไม่มีหลักฐานการรับเงินที่เพียงพอต่อการบันทึกบัญชี กิจการสามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 เอกสารแสดงการรับเงินของผู้รับเงิน อาจเลือกใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่กรณี ดังต่อไปนี้ 2.1.1 ใบรับ ตามมาตรา Read More

Share Button

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย การประกอบธุรกิจขนส่ง ถือเป็นกิจการให้บริการประเภทหนึ่ง โดยสรุปจากประมวลกม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 ได้ว่า การขนส่ง หมายถึง ขนคน หรือขนของ ส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง การขนส่งทางบก การให้บริการขนส่งทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามราตรา 81 แห่งประมวลรัษฏากร ที่ได้กำหนดไว้ดังนี้ มาตรา 81 (1) (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร และ มาตรา 81 (1) (ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล ดังนั้น กิจการขนส่งทางบก ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและจะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ อันเนื่องจากกฎหมายยกเว้นไว้ ไม่ได้ให้สิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ว่าจ้างเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา ร้อยละ 1.0 คำว่าการขนส่งสาธารณะ หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ ข้อสังเกตุอย่างหนึ่ง Read More

Share Button

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร

ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ออกอย่างไร ลงรายงานภาษีขายอย่างไร 1. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องขออนุมัติก่อนหรือไม่  ผู้ประกอบการที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ ต้องเป็นกรณีของการประกิจกิจกาขายปลีก ถ้าเป็นบริการต้องเป็นการให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก โดยกิจการค้าปลีกต้องมีลักษณะดังนี้ 1.1 เป็นการขายสิ้นค้าที่ผู้ขายทราบโดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรงและได้ขายในปริมาณซึ่งตามปกติวิสัยของผู้บริโภคนั้นจะนำไปใช้โดยไม่ได้นำไปขายต่อ 1.2การให้บริการในลักษณะบริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น กิจการภัตตาคาร 1.3 ผู้ประกอบการตาม 1.1 และ 1.2 ต้องจัดทำใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับที่มีรายการครบถ้วน กรณีที่ผู้ซื้อร้องขอ บางครั้ง กิจการที่ทำไม่ตรงกับตัวอย่างที่สรรพากรให้ไว้ ก็ให้พิจารณาได้เลยว่า ถ้าขายให้ผู้บริโภค และผู้บริโภคเป็นคนใช้ ไม่ได้ไปขายต่อ ก็สามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้เลย โดยไม่ต้องขออนุมัติ 2. ออกใบกำกับภาษีอย่างย่อแล้วลงรายการในรายงานภาษีขายอย่างไร กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 ให้ลงรายการในรายงานภาษีขายเฉพาะมูลค่าสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งหมดต่อวันที่ได้รับ และให้ลงรายการภายใน 3 วันทำการ โดยให้เป็นไปตามหลักการนี้ 2.1 ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อสินค้า และรายการสินค้าต้องแยกจำนวนภาษีมูลเพิ่ม 2.2 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ โดยระบุในช่อง เลขที่/เล่มที่ของใบกำกับภาษีว่า “เล่มที่…เลขที่…ถึงเลขที่…” 2.3 กรณีจัดทำใบกำกับภาษีอย่างย่อไม่ได้ออกเป็นเล่ม ให้ลงรายการมูลค่าสินค้าเป็นยอดรวมแต่ละยอดตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ Read More

Share Button

เสี่ยงกว่าไม๊ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว

เสี่ยงกว่ามั้ย ถ้าไม่ใช้บัญชีชุดเดียว การจัดกลุ่มผู้เสียภาษีของกรมสรรพากร ซึ่งจัดกลุ่มโดยใช้ข้อมูลจาก 3 ส่วนคือ 1.การประเมินสถานะผู้ประกบอการโดยเจ้าหน้าที่สรรพากรจะลงพื้นที่ไปสถานประกอบการ จัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง และการควบคุมภายในของกิจการ จัดทำอัตราส่วนทางการเงินแล้วรายงานเก็บไว้ในระบบ 2.ใช้ Data Analytics วิเคราะห์ข้อมูลจากข้อมูลการยื่นภาษีของผู้ประกอบการ ในการศึกษาว่า กลุ่มไหนมีพฤติกรรมอย่างไร 3.Risk Based Audit System (RBA) ประเภมินความเสี่ยงผู้เสียภาษีผ่าน 151 เกณฑ์ของสรรพากร ซึ่งมีมากพอที่จะทำให้การตรวจสอบเข้าถึงความผิดปกติของผู้ประกอบการและเกณฑ์ความเสี่ยงนั้นจะเชื่อโยงกับ Data Analytics กรมสรรพากรแบ่งผู้ประกอบการเป็น 3 กลุ่มกิจการหลักคือ 1. กิจการผลิต 2.กิจการซื้อมาขายไป 3 กิจการบริการ กลยุทธ์สำคัญของกรมสรรพากร คือการพิจารณาวิธีการรับชำระเงินของธุรกิจนั้น ๆ ซึ่งถือเป็นการประเมินความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยพบว่า ธุรกิจที่ขายสินค้าโดยตรงถึงผู้บริโภคมีแนวโน้มหลบเลี่ยงภาษีสูงกว่าธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ โดยเลือกใช้เงินสดในการรับชำระ รูปแบบของความผิดปกติที่สรรพากรพบในกลุ่ม SMEs คือการจงใจทำให้รายได้ออกนอกระบบ นำค่าใช้จ่ายเท่าที่ต้องการ หรือหารายจ่ายเพิ่ม ส่วนนี้กรมสรรพากรยืนยันว่า Data Analytics Read More

Share Button

ค่าปรับภาษีอากรทุกประเภท ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม

เบี้ยปรับและหรือเงินเพิ่มภาษีอากร และค่าปรับทางอาญาตามกฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษี เช่น ค่าปรับภาษีศุลกากร ค่าปรับภาษีโรงเรือน ค่าปรับภาษีป้าย ซึ่งเดิม สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ มีแต่ค่าปรับตามประมวลรัษฏากรเท่านั้นที่เป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม แต่ตามคำวินิจฉัยใหม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามทางภาษีทั้งหมด ส่วนค่าปรับตามกฎหมายอื่น เช่น ค่าปรับจากประกันสังคม ใบสั่งเจ้าพนักงานจราจร ยังสามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฏร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากรจัดเก็บมี 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล 3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม 4.ภาษีอากรแสตมป์ 5.ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่นได้แก่ 1.ภาษีป้าย 2.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน 3.ภาษีบำรุงท้องที่ สรุป เบี้ยเปรับ เงินเพิ่ม สำหรับรายการไหน ที่มีคำว่า ภาษีนำหน้า ถือว่าเป็นภาษีอากร ตามคำวินิจฉัยใหม่นี้ เป็นรายจ่ายต้องห้าม ที่มา : คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากร ที่ 40/2560 สั่ง ณ วันที่ Read More

Share Button