ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย - บริษัท เอทีเอส การบัญชี จำกัด

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าขนส่ง กับปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย

การประกอบธุรกิจขนส่ง ถือเป็นกิจการให้บริการประเภทหนึ่ง โดยสรุปจากประมวลกม.แพ่งและพาณิชย์มาตรา 608 ได้ว่า การขนส่ง หมายถึง ขนคน หรือขนของ ส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
การขนส่งทางบก
การให้บริการขนส่งทางบกได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามราตรา 81 แห่งประมวลรัษฏากร ที่ได้กำหนดไว้ดังนี้
มาตรา 81 (1) (ณ) การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร และ
มาตรา 81 (1) (ด) การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศซึ่งมิใช่เป็นการขนส่งโดยอากาศยานหรือเรือเดินทะเล
ดังนั้น กิจการขนส่งทางบก ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มและจะขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ อันเนื่องจากกฎหมายยกเว้นไว้ ไม่ได้ให้สิทธิเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากผู้ว่าจ้างเป็นนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินที่เป็นค่าขนส่ง แต่ไม่รวมถึงการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะให้แก่ผู้รับซึ่งเป็น บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล ผู้จ่ายเงินมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตรา ร้อยละ 1.0
คำว่าการขนส่งสาธารณะ หมายความว่า การรับส่งผู้โดยสารเป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ
ข้อสังเกตุอย่างหนึ่ง จะต้องเป็นผู้ประกอบการกิจการขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ต้องไม่ประกอบการร่วมกับกิจการอื่น หากประกอบกิจการอื่นร่วมกับค่าขนส่ง จะไม่ถือเป็นการขนส่ง มีดังนี้
1.ขายสินค้าพร้อมขนส่ง
กิจการขายสินค้าแล้วมีการขนส่งสินค้าให้กับลูกค้า ค่าขนส่งที่เรียกเก็บพร้อมค่าสินค้า จะถือเป็นการขายสินค้า เช่นบริษัทขายเครื่องจักร 100,000 พร้อมค่าขนส่ง 4,000 บริษัทผู้ขาย จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอด 104,000 บาท และค่าขนส่ง ถือเป็นการขายสินค้า จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ถือเป็นธุรกรรมเดียวกันกับการขายสินค้า
2.ให้บริการพร้อมขนส่ง

กิจการประกอบกิจการให้บริการแล้วมีการคิดค่าขนส่งกับลูกค้า ค่าขนส่งที่เรียกเก็บพร้อมค่าบริการจะถือเป็นค่าบริการทั้งจำนวน ตัวอย่างเช่น บริษัทรับซ่อมเครื่องจักรพร้อมขนส่งไปให้ลูกค้า โดยมีค่าซ่อมเครื่องจักร์ 100,000 และค่าขนส่ง 4,000 บริษัทผู้ให้บริการซ่อมเครื่องจักรจะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอด 104,000 บาท และค่าขนส่งที่เรียกเก็บพร้อมค่าซ่อมเครื่องจักรถือเป็นส่วนหนึ่งของค่าซ่อมเครื่องจักร ดังนั้น ผู้จ่ายเงินจะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 3 จากมูลค่า 104,000 บาท

ที่มา : เอกสารภาษีอากร No 458 November 2019

Share Button

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *